http://digitalsknow.blogspot.com/

http://digitalsknow.blogspot.com/
เป็นบล็อกที่นำเสนอความรู้เกี่ยวกับด้านคอมพิวเตอร์และไอที IT Information Technology

วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

คุณเคยใช้ Window + E หรือยัง?


       ในบางครั้งที่เราต้องการความรวดเร็วในการเปิด My Computer หรือ เปิด Explore โดยใช้คีย์ลัดจากคีย์บอร์ดนั้นสามารถทำได้!!!


กดปุ่ม window ค้่างไว้ และตามด้วย ปุ่ม E ก็จะแสดงหน้าต่างของ My Computer แบบ Explore เพื่อความคล่องตัวในการจัดการไฟล์ของเราในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะย้าย ทำสำเนา ตัด หรือลบไฟล์ สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ไม่ต้องพึ่งแค่เม้าส์อย่างเดียว


รูปร่างหน้าตาของปุ่ม Windowที่เราพูดถึง




                                                  My Computer แบบ Explore ด้วยปุ่ม window+E



ข้อแนะนำ: ใช้นิ้วมือข้างซ้าย โดยนิ้วหัวแม่มือกดปุ่ม Window และนิ้วชี้(เสมือนการใช้งานนิ้วมือ Smart Mobile รุ่นใหม่ๆ)กดปุ่ม E
กดปุ่ม Window+E

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การแปลงเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสอง, ฐานแปด และฐานสิบหก

การแปลงเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสอง(Decimal to Binary)

       หลักการแปลงเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสองนั้นทำได้โดยการหารคิดที่เศษของผลการหาร กล่าวคือ นำจำนวนเลขในฐานสิบเป็นตัวตั้ง จากนั้นเอาเลขสอง ไปหาร หารไปเรื่อยๆจนกว่าจะเหลือเลขฐานสิบเป็น ”0” คำตอบที่ได้จะได้เศษของผลหารตัวสุดท้ายเป็นบิตนัยสำคัญสูงสุด ดังตัวอย่างข่างล่าง

ตัวอย่าง
124 เลขฐานสิบแปลงเป็นเลขฐานสองจะได้

2) 124     เศษของผลหาร 0
2) 62       เศษของผลหาร 0
2) 31       เศษของผลหาร 1
2) 15       เศษของผลหาร 1
2) 7         เศษของผลหาร 1
2) 3         เศษของผลหาร 1
2) 1         เศษของผลหาร 1
2) 0         เศษของผลหาร 0   


คำตอบ: 1111100  (เลขฐานสอง)


การแปลงเลขฐานสิบเป็นเลขฐานแปด(Decimal to Oct)

       หลักการแปลงเลขฐานสิบเป็นเลขฐานแปดนั้นทำได้โดยการหารคิดที่เศษของผลการหาร คล้ายกับแปลงเป็นเลขฐานสอง กล่าวคือ นำจำนวนเลขในฐานสิบเป็นตัวตั้ง จากนั้นเอาเลขแปด ไปหาร หารไปเรื่อยๆจนกว่าจะเหลือเลขฐานสิบเป็น ”0” คำตอบที่ได้จะได้เศษของผลหารตัวสุดท้ายเป็นบิตนัยสำคัญสูงสุด ดังตัวอย่างข่างล่าง

ตัวอย่าง
124 เลขฐานสิบแปลงเป็นเลขฐานแปดจะได้

8) 124     เศษของผลหาร 4
8) 15       เศษของผลหาร 7
8) 1         เศษของผลหาร 1
8) 0         เศษของผลหาร 0


คำตอบ: 174  (ฐานแปด)


การแปลงเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสิบหก(Decimal to Hex)

       หลักการแปลงเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสิบหกนั้นทำได้โดยการหารคิดที่เศษของผลการหาร คล้ายกับแปลงเป็นเลขฐานสอง กล่าวคือ นำจำนวนเลขในฐานสิบเป็นตัวตั้ง จากนั้นเอาเลขสิบหก ไปหาร หารไปเรื่อยๆจนกว่าจะเหลือเลขฐานสิบเป็น ”0” คำตอบที่ได้จะได้เศษของผลหารตัวสุดท้ายเป็นบิตนัยสำคัญสูงสุด ดังตัวอย่างข่างล่าง

ตัวอย่าง
124 เลขฐานสิบแปลงเป็นเลขฐานสิบหกจะได้

16) 124      เศษของผลหาร C
16) 7         เศษของผลหาร 7
16) 0         เศษของผลหาร 0

คำตอบ: 7C  (ฐานสิบหก)

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การแปลงเลขฐานสองเป็นเลขฐานสิบ

การแปลงเลขฐานสองเป็นเลขฐานสิบ(Binary to Decimal)


การแปลงเลขฐานสองเป็นเลขฐานสิบสามารถกระทำได้ดังนี้

นำจำนวนน้ำหนักมาคูณกับเลขประจำหลักนั้น เช่น




การแปลงเลขฐานสองที่มีจุดทศนิยมเป็นเลขฐานสิบ ดังตัวอย่าง




ซึ่งสามารถทำได้โดยไม่ยากเลย



โดยค่าประจำหลักของการแปลงเลขฐานสองเป็นสิบแบบมีจุดทศนิยมจะเป็นดังนี้

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การแปลงเลขฐานสองเป็นฐานแปดและฐานสิบหก


Binary to Octal and Hex.
การแปลงเลขฐานสองเป็นฐานแปดและฐานสิบหก


1. เลขฐานแปดจะมีตัวเลขตั้งแต่ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 รวมทั้งหมด 8 ตัว

2. เลขฐานสิบหกจะมีตัวเลขตั้งแต่ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10(A), 11(B), 12(C), 13(D), 14(E), 15(F) รวมทั้งหมด 16 ตัว

การแปลงเลขฐานสองเป็นฐานแปดนั้น ให้จัดกลุ่มเลขฐานสองทีละ 3 บิต

ส่วนการแปลงเลขฐานสองเป็นฐานสิบหกนั้น ให้จัดกลุ่มเลขฐานสองทีละ 4 บิต

โดยเริ่มจากบิตที่อยู่ใกล้จุดทศนิยม (ให้เสมือนตัวเรายืนอยู่ที่จุดทศนิยม แล้วนับไปทางหน้าจุดทศนิยม หรือหลังทศนิยมในกรณีเป็นตัวเลขทศนิยม) จากนั้นให้จัดกลุ่ม หากกลุ่มสุดท้ายไม่ครบตามเลขฐาน ให้เติมศูนย์(แปลงเป็นฐานแปดจัดกลุ่ม 3 บิต และแปลงเป็นเลขฐานสิบหกจัดกลุ่ม 4 บิต)



หากมีตัวเลขฐานสองดังนี้ => 10101011.01101

สามารถแปลงเป็นเลขฐานแปดและฐานสิบหกได้ดังนี้


บิต ไบต์ และเวิร์ด

บิต ไบต์ และเวิร์ด(Bit,Byte and Word)

บิต หรือ bit (binary digit) เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดที่ใช้ในการเก็บข้อมูลทางระบบของคอมพิวเตอร์

บิตแสดงถึงสถานะภาพเมื่อมีสถานะหลอดไฟติดสว่าง (เปิด, ON) แทนด้วยค่า 1 หรือ เมื่อหลอดไฟดับ (ปิด, OFF) แทนด้วยค่า 0

ข้อมูล 1 บิตสามารถเก็บข้อมูลที่เป็นไปได้ 2 ค่าเท่านั้น คือ 0 และ 1
จำนวนบิตที่มากขึ้นสามารถแสดงค่าและจัดเก็บข้อมูลที่มีความหลากหลายมากขึ้นได้
ข้อมูล n บิตสามารถแสดงค่าที่แตกต่างกันได้ 2n ค่า

ไบต์ (byte) หมายถึง กลุ่มข้อมูล 8 บิต ซึ่งสามารถแสดงค่าที่มีความแตกต่างกันได้ถึง 256 ค่า
ข้อมูล 1 ไบต์สามารถแสดงค่าเลขจำนวนเต็มบวกแบบไม่มีเครื่องหมาย (unsigned number) ได้ตั้งแต่ค่า 0 ถึง 255

แสดงค่าเลขจำนวนเต็มแบบมีเครื่องหมาย (signed number) ได้ตั้งแต่ค่า -128 ถึง 127
แสดงค่าตัวอักขระที่มีความแตกต่างกันได้ถึง 256 แบบ
นิบเบิล (nibble) หมายถึง กลุ่มข้อมูล 4 บิต หรือ ครึ่งไบต์
1 นิบเบิลจะแทนค่าเลขฐานสิบหก 1 ตัว

เวิร์ด (word) หมายถึง กลุ่มข้อมูลที่ตัวประมวลสามารถประมวลผลได้ในครั้งหนึ่งๆ
ข้อมูล 1 เวิร์ดจึงมีขนาดที่แตกต่างกันไปขึ้นกับตัวประมวลของแต่ละระบบ เช่น ขนาดข้อมูล 1 เวิร์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์แอปเปิลมีขนาด 8 บิต

เวิร์ด  = 2 ไบต์
ไบต์  = 2  ดิจิต = 4 บิต
1 ดิจิต = 4 บิต

1 กิโลไบต์ (kilobyte: KB) หมายถึง ขนาดข้อมูล 210 ไบต์ หรือเท่ากับ 1024 ไบต์ (1 K)

1 เมกะไบต์ (megabyte: MB) หมายถึง ขนาดข้อมูล 220 ไบต์ หรือเท่ากับ 1,048,576 ไบต์
1 กิกะไบต์ (gigabyte: GB) หมายถึง ขนาดข้อมูล 230 ไบต์
1 เทระไบต์ (terabyte: TB) หมายถึง ขนาดข้อมูล 240 ไบต์

ซึ่งปััจจุบัน Hard disk มีค่าความจุมากเป็น เทระไบต์(TB) จากเดิมเป็นแค่ กิกะไบต์(GB)

คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์

หลังจากนั้น ค.ศ 1960-1970 บริษัท IBM ได้เริ่มผลิตคอมพิวเตอร์ รุ่น System/360 Main frame ออกจำหน่ายเพื่อการทำธุรกิจ โดยในปี 1964 มียอดขายกว่า 33,000 เครื่อง และต่อมาคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาอย่างรวดเร็วและไม่หยุดยั้ง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านประสิทธิภาพ ขนาดและราคาที่ลดลง


การใช้งานคอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ


ในปัจจุบันเราสามารถที่จะพบเห็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้เกือบทุกหนทุกแห่ง ซึ่งมีชื่อตามชนิดว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และคอมพิวเตอร์ได้ถูนำมาใช้งานต่างมากมายรวมถึงชีวิตประจำวันของเราเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายรวดเร็ว แม่นยำให้กับงานเหล่านั้น เช่น


1. การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านธุรกิจ ในการพิมพ์เอกสารต่างๆ แลกเปลี่ยนและติดต่อสื่อสารระหว่างสำนักงานต่างๆ
2. การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านวิทยาศาสตร์ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทดสอบ และคำนวณข้อสมมุติฐานต่างๆ
3. การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านวิศวกรรม ในการออกแบบและทดสอบผลิตภัณฑ์
4. การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านอุตสาหกรรม Computer Aided Manufacturing : CAM ควบคุมการผลิต ควบคุมหุ่นยนต์ เพื่อลดอันตรายให้กับพนักงานและเพิ่มผลผลิต
5. การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านรัฐบาล  ในการจัดทำสัมโนครัวประชากร ระบบจัดเก็บภาษี บัตรประจำตัวต่างๆ
6. การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านทหาร ระบบป้องกันตัวเอง ตรวจจับวัตถุ ควบคุมการส่งขีปนาวุธ 
7. การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านภาพยนตร์และโทรทัศน์ นำมาใช้ตัดต่อ เพิ่มเทคนิคพิเศษต่างๆ


ส่วนประกอบโดยรวมของคอมพิวเตอร์

โดยทั่วไปแล้วระบบคอมพิวเตอร์ จะสามารถทำงานได้ต้องประกอบองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ
1. Hardware เป็นที่รู้จักกันว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่สามารถจับต้องได้
2. Software ชุดคำสั่งทาง electronic มีหน้าที่บอกให้ Hardware ต่างๆทำงาน ซึ่งปรกติแล้วชุดคำสั่งจะอยู่ในรูปแบบของตัวโปรแกรมต่างๆ
3. Data ข้อมูลต่างๆที่จะนำมาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ในการประมวลผล ซึ่งอยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจและนำไปใช้งานได้
4. People หรือผู้ใช้ บุคลากรที่ควบคุมการทำงานต่างๆของคอมพิวเตอร์